วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 3 : บทความสารคดี เรื่อง เรื่องราวของ "กาแฟ"

Coffee
เรื่องราวของ "กาแฟ"



  • การค้นพบ "กาแฟ"
       
( ที่มา : http://www.hopscotchcoffee.com )

       ว่ากันว่าในต้นศตวรรษที่ 6 มีชายหนุ่มนาม คาลดี เป็นชาวอาบิสซีเนีย (หรือเมืองคัฟฟา ประเทศเอธิโอเปียในปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของชื่อ “กาแฟ”) ทำอาชีพเลี้ยงแพะ ทุกวันเขาจะนำฝูงแพะออกไปหาอาหารกินตามทุ่ง ตามเนินต่าง ๆ เมื่อเจอแหล่งหญ้า พุ่มไม้ที่อุดมสมบูรณ์ จะปล่อยให้ฝูงแพะหากินตามสบาย และตามประสาหนุ่มขี้เกียจก็จะหาที่ร่มเพื่อนอนพัก ตกเย็นก็ต้อนฝูงแพะกลับบ้านเป็นกิจวัตรประจำวัน แม้จะเป็นคนขี้เกียจ แต่เขายังมีข้อดีอยู่อย่างหนึ่งคือ ช่างสังเกต เมื่อวันหนึ่งเขาสังเกตเห็นความผิดปกติของฝูงแพะ หลังจากที่พวกมันไปหากินตามบริเวณเนินเขา ดูเหมือนว่ามันจะกระปรี้กระเปร่าขึ้น เขาจึงเริ่มจับตาดูว่าฝูงแพะมันไปกินอะไรเข้าจึงเป็นเช่นนี้ และก็สังเกตเห็นว่าฝูงแพะของเขากินผลไม้ลูกเล็ก ๆ สีแดงซึ่งเขาไม่เคยเห็นมาก่อนเข้าไป จากการเฝ้าสังเกตมาหลายวัน จึงสันนิษฐานว่าผลไม้สีแดงนี้แน่ที่เป็นสาเหตุให้ฝูงแพะกระปรี้กระเปร่าขึ้น เขาจึงเด็ดผลไม้นี้ติดตัวกลับบ้านและทดลองกินดู เขาก็เลยกลายเป็นหนุ่มคนแรกที่ได้ลิ้มรสชาติของผลไม้วิเศษที่มีชื่อเรียกกันภายหลังว่า "กาแฟ"
       นับเป็นโชคดีของชาวโลกที่คาลดีไม่ได้เก็บการค้นพบนี้ไว้คนเดียว เขานำสิ่งที่พบไปเล่าให้นักบวชที่อยู่ในหมู่บ้านฟัง ด้วยความที่เป็นพระ และมีความรู้ทางสมุนไพร พระรูปนี้จึงได้นำผลไม้ลูกเล็กๆ สีแดงนี้ไปลอกเปลือกออก และนำไปตากแห้ง จากนั้นนำไปต้มน้ำ ดื่มเป็นน้ำสมุนไพรและสังเกตความเปลี่ยนแปลงของตนเองดู ก็พบว่าความง่วงหงาวหาวนอนในระหว่างที่สวดมนต์ตอนเย็น ได้หายไปและมีความกระปรี้กระเปร่าเข้ามาแทนที่ ทำให้การสวดมนต์สรรเสริญพระเจ้าในตอนเย็นมีชีวิตชีวาขึ้น และจากที่วัดนี้เองการต้ม ผลไม้ลูกเล็กๆ สีแดงที่เรียกว่า "กาแฟ" ก็ได้แพร่หลายออกไปสู่บริเวณใกล้เคียง
       จากการค้นพบครั้งแรกในศตวรรษที่ 6 เรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 16 การดื่มกาแฟและขายเมล็ดพันธุ์ยังคงอยู่ในวงแคบ ชาวอาหรับหวงแหนเมล็ดกาแฟมาก และเก็บเป็นความลับสุดยอด เมล็ดกาแฟที่จะส่งออกไปจำหน่ายให้พ่อค้าจะต้องผ่านการต้มสุกเสียก่อนเพื่อป้องกันการนำไปขยายพันธุ์ แต่ในที่สุดเมล็ดกาแฟก็ถูกมือดีชาวอินเดียลักลอบนำออกไปสู่โลกภายนอกในระหว่างเดินทางกลับจากการไปแสวงบุญที่กรุงเมกกะ นายบาบา บูดาน ผู้มีถิ่นพำนักอยู่ที่ไมซูทางภาคกลางของประเทศอินเดียได้ลักลอบนำผลกาแฟสุกสีแดง 6-7 เมล็ด ซุกไว้ที่ผ้าคาดเอวและนำมาปลูกที่หลังบ้านของเขา เมื่อกาแฟเจริญเติบโตขึ้นก็ได้แบ่งต้นกล้าที่เพาะได้ต้นหนึ่งให้แก่พ่อค้าชาวดัตซ์ พ่อค้านำไปทดลองปลูกที่เกาะชวาได้สำเร็จ จึงนำมาปลูกที่สวนพฤกษชาติในกรุงอัมสเตอร์ดัม ต้นกล้านี้จึงกลายเป็นต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของกาแฟในยุโรป ส่วนต้นกล้าของนายบาบา บูดาน ก็กลายเป็นต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของต้นกาแฟในอินเดีย
พ่อค้าชาวดัตช์นำเมล็ดกาแฟไปทดลองปลูกที่เกาะชวาได้สำเร็จ
( ที่มา : http://blog.mailasail.com/beezneez/1696 )


กาเบรียล แมธธิว เดอคิว 
สละน้ำดื่มของตนมารดต้นกล้า
( ที่มา : http://blog.mailasail.com/beezneez/1696 )
       ส่วนการขยายพันธุ์ไปยังทวีปอเมริกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ในปี ค.ศ. 1723 ทหารเรือชาวฝรั่งเศสชื่อ กาเบรียล แมธธิว เดอคิว ได้อุตส่าห์ทะนุถนอมต้นกาแฟ 6 ต้นที่เขานำลงเรือมาด้วยในระหว่างเดินทางจากยุโรปไปยังทวีปอเมริกา เขายอมสละน้ำดื่มมารดต้นกล้าเพื่อไม่ให้มันตาย แต่มันก็ตายไปทีละต้น และเมื่อเรือเดินทางมาถึงเมืองท่ามาร์ตีนิกในหมู่เกาะแคริบเบียน เขาก็เหลือต้นกล้าที่รอดตายเพียงต้นเดียว เขาเฝ้าทะนุถนอมเรื่อยมา สามปีต่อมาต้นกาแฟต้นนี้ก็เริ่มผลิดอกออกผล 50 ปีให้หลังก็ได้ขยายพันธุ์ไปมากกว่า 20 ล้านต้น
และต่อมาอีก
250 ปี ดินแดนแห่งนี้ก็ได้กลายเป็นดินแดนที่ปลูกกาแฟมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ปัจจุบัน กาแฟจึงเป็นเครื่องดื่มที่มีผู้นิยมมากที่สุดในโลกรองจากชา



  • ความเป็นมาของ "กาแฟ" ในไทย
       ในศตวรรษที่ 17และ18 เป็นช่วงที่กาแฟได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินเดียตะวันตกเป็นครั้งแรก  อุตสาหกรรมกาแฟในประเทศไทยนั้นยังถือว่าใหม่อยู่มาก ตามสถิติทางราชการ เนื้อที่แปลงเพาะปลูกกาแฟทั้งหมดภายในปี 1960 มีเพียงแค่ 19,000 ไร่ ผลิตกาแฟได้เพียง 750 ตัน แต่ภายในปีเดียวกันนั้นเองประเทศไทยต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์พืชผลกาแฟเกือบจะ 6,000 ตัน เพื่อเป็นการปรับดุลย์การค้ารัฐบาลไทยได้ตั้งโครงการรณรงค์และสนับสนุนกาแฟโรบัสตาที่ปลูกได้ทางภาคใต้ซึ่งได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี
ไร่กาแฟอะราบิก้า ไร่กาแฟยอดดอย อ.แม่สรวย จ.เชียงใหม่
ขอบคุณรูปภาพจากคุณ cm_coffee ( ที่มา : http://www.oknation.net/blog/cm-arabica/2012/12/01/entry-1 )


ไร่กาแฟอะราบิก้า ไร่กาแฟยอดดอย อ.แม่สรวย จ.เชียงใหม่
ขอบคุณรูปภาพจากคุณ cm_coffee ( ที่มา : http://www.oknation.net/blog/cm-arabica/2012/12/01/entry-1 )

       โครงการนี้มีการผูกพันเกี่ยวเนื่องต่อไปในอนาคตเมื่อการปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่น กลายเป็นโครงการของรัฐบาลอย่างเป็นทางการในปี 1970 เมื่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ อีกทั้งยังมีองค์การสหประชาชาติและองค์การทั้งภาคเอกชนและรัฐบาลอื่น ๆ อีกมากมายที่ให้การสนับสนุนชาวไร่ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในเขตสามเหลี่ยมทองคำและตามแนวเขตแดนพม่าและลาวจึงเริ่มหันมาสนใจปลูกกาแฟพันธุ์อะราบิกากัน


  • เมล็ดกาแฟ


( ที่มา : http://com226-boss.blogspot.com/2013/09/blog-post.html )

       เมล็ดกาแฟมีลักษณะเป็นผลกลมรี ผลดิบจะมีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสดเหมือนลูกเชอรี่ ซึ่งจะเรียกผลที่สุกนี้ว่า"ผลเชอรี่" เมล็ดภายในของผลเชอรี่ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วซึ่งจะแยกเป็น 2 ส่วนประกบกันบางเมล็ดเท่านั้นที่มีลักษณะเป็นเมล็ดเดี่ยวซึ่งมีน้อยมาก  กาแฟในโลกนี้มีหลากหลายพันธุ์ ปลูกได้ดีบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตรของโลก กาแฟมี 2 พันธุ์หลักที่นิยมนำมาบริโภค คือ
( ที่มา : http://www.godairyfree.org/news/chocolate-lucuma-maca-coffee )


อะราบิก้า เป็นพันธุ์กาแฟที่ปลูกและเป็นที่นิยมนำมาบริโภคมากที่สุดในโลกปลูกมากในทวีปอเมริกาใต้โดยเฉพาะประเทศบราซิลและโคลัมเบียส่งออกกาแฟเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลกตามลำดับปลูกได้ดีตามเทือกเขาสูงที่มีอากาศเย็นเป็นกาแฟที่มีคุณภาพสูงปลูกและดูแลยากราคาแพงส่วนใหญ่นำมาผลิตเป็นกาแฟคั่วบดจุดเด่นของอะราบิก้าคือมีกลิ่นหอมและ "Acidity" (สารกาแฟ) สูงทำให้เราดื่มกาแฟแล้วรู้สึกได้ถึงความกระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวา มีปริมาณคาเฟอีนต่ำอะราบิก้าในประเทศไทยปลูกมากบนดอยสูงทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ ลำปาง เป็นกาแฟที่มีคุณภาพสูง หอมไม่เป็นที่สองรองใครแต่ไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เนื่องจากขาดการส่งเสริมและการประชาสัมพันธ์ที่ดี

- โรบัสต้า เป็นพันธุ์กาแฟที่นิยมเป็นอันดับสองรองจากอะราบิก้า ปลูกมากในทวีปแอฟริกาและเอเซีย ปลูกได้ดีตามพื้นที่ราบที่มีอากาศอบอุ่น ปลูกง่ายราคาไม่แพง ส่วนใหญ่นำมาผลิตเป็นกาแฟสำเร็จรูป และนำมาผสมกับอะราบิก้าบางส่วน เพื่อผลิตกาแฟคั่วบดให้มีรสชาติแตกต่างออกไป โรบัสต้าโดดเด่นด้าน "Body" เวลาดื่มกาแฟแล้วรู้สึกได้ถึงความนุ่ม ชุ่มคอ มีปริมาณคาเฟอีนสูงเป็น 2 เท่าของอราบิก้า โรบัสต้าในประเทศไทยปลูกมากบนพื้นที่ราบทางภาคใต้ เช่น จังหวัดชุมพร และนครศรีธรรมราช
  • การเตรียมเมล็ดกาแฟ
1) การบ่ม เป็นการทำให้รสเปรี้ยวลดลง ในขณะที่ความกลมกล่อมของรสชาติจะเพิ่มขึ้น
2) การคั่ว เป็นการนำเมล็ดกาแฟสีเขียวไปคั่วให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 2 เท่า พร้อมทั้งเปลี่ยนความหนาแน่น และสีเป็นเหลือง จนเข้มเป็นน้ำตาล โดยเข้มขึ้นไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะยกออกจากความร้อน ซึ่งการคั่วแบบอ่อน ๆ จะเก็บรสชาติดั้งเดิมของเมล็ดได้ดีที่สุด
3) การบด คือการบดกาแฟให้ละเอียด ยิ่งละเอียดเท่าไรก็จะยิ่งได้รสชาติที่เข้มข้นมากเท่านั้น การที่บดไม่ละเอียดนั้นหมายความว่าไม่ต้องการให้ผ่านตัวกรองไปได้
4) การชง มีหลากหลายวิธี แบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

    - Coffee Press  การชงกาแฟด้วยเครื่องชงกาแฟแบบกด (Coffee Press) จะช่วยกักเก็บน้ำมันตามธรรมชาติที่กระดาษกรองดูดซับไว้ และสกัดรสชาติของกาแฟได้อย่างเต็มที่ พร้อมให้ความเข้มข้นกลมกล่อม
    - Pour-Over  การชงแบบ Pour-over เป็นวิธีการชงกาแฟที่เรียบง่ายแต่สวยงาม กาแฟที่ได้จะมีน้ำหนักและรสชาติที่สะอาด เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ
    - Iced Pour-Over  การชงกาแฟแบบ Iced Pour-over เป็นวิธีการชงกาแฟเย็นทีละแก้วที่ทำได้ง่าย และให้รสชาติที่เข้มข้น
    - เครื่องชงกาแฟ  การชงกาแฟแบบหยดเป็นวิธีที่สะดวกในการชงกาแฟรสเยี่ยม คุณสามารถชงกาแฟรสเลิศโดยใช้กาแฟที่บดอย่างเหมาะสม และน้ำสะอาด

  • ประโยชน์ของกาแฟ
       ผลวิจัยเรื่องนี้เป็นผลงานของทีมนักวิจัยมหาวิทยา ลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารโภชนาการทางการแพทย์ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ถือเป็นอีกข่าวดีล่าสุดจากประโยชน์ของการดื่มกาแฟ (แต่ต้องเป็นกาแฟที่ไม่ได้สกัดคาเฟอีนออก)

       ผลวิจัยนี้ได้ทำการศึกษา จากคนจำนวนกว่า 1.93 แสนคน พบว่าผู้ดื่มกาแฟเป็นประจำมีความเสี่ยงจากการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (ร่างกายต่อต้านอินซูลิน) ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับผู้ไม่ดื่ม โดยยิ่งดื่มมากความเสี่ยงยิ่งต่ำ

       นอกจากนี้แม้กาแฟจะได้รับการกล่าว ขานว่าเป็นอันตรายต่อหัวใจ แต่การศึกษาล่าสุดนี้ไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหัวใจ แต่กลับพบว่าบุคคลที่มีสุขภาพดีวัย 65 ปีขึ้นไป ซึ่งดื่มกาแฟ (ชนิดมีคาเฟอีน) วันละ 4 แก้วหรือมากกว่านั้นทุกวัน มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจต่ำกว่าผู้ไม่ดื่มถึง 53%

       ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าทำไมกาแฟจึงช่วยลดความเสี่ยงโรคดังกล่าว แต่ผู้วิจัยเชื่อว่าน่าจะเป็นเพราะในกาแฟมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยพบว่ากาแฟมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกับที่องุ่นมี และยังมีมากกว่าบลูเบอร์รี่เสียอีก อีกทั้งเชื่อว่าแมกนีเซียมใน กาแฟช่วยให้เซลล์ในร่างกายอ่อนไหวต่ออินซูลิน (จึงช่วยป้องกันเบาหวาน) นอกจากนี้กาแฟยังเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคพาร์คินสัน นิ่ว เบาหวาน อัลไซเมอร์ โรคเกาต์ มะเร็งตับ ลดความเครียด และกระตุ้นความจำ กระตุ้นให้ตื่นตัว ไม่อ่อนล้าอ่อนเพลีย
       ผู้วิจัยบอกว่า การดื่มกาแฟวันละ 2-3 แก้วไม่เป็นอันตราย แต่กลับเป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตามผู้วิจัยไม่แนะนำให้ดื่มกาแฟเพื่อป้องกันโรค และหากดื่มมากเกินไปจะก่อภาวะไม่สบายได้ เช่นนอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ส่วนผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่เดิมก็ไม่ควรดื่ม รวมทั้งคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตร ก็ควรงดเว้นการดื่มเพราะคาเฟอีนจะไปผสมอยู่ในน้ำนมมารดา



______________________________________________________________________
ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล รูปภาพและวิดีโอ
http://student.nu.ac.th/phung/index.html
http://th.starbucks.co.th/
http://www.oknation.net/blog/cm-arabica/2012/12/01/entry-1
http://blog.mailasail.com/beezneez/1696

https://www.facebook.com/notes/137111602989688/
http://health.kapook.com/view82251.html