วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 5 : พรบ.คอมพิวเตอร์ ลิขสิทธิ์ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๘)

(ที่มา : http://xn--72cfa1hey3b0dtji.com/images/content/copyright040858.jpg )
พระราชบัญญัติ
ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๘
________________
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป



กรณีตัวอย่างและตัวอย่างบทลงโทษพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
_________________

( ที่มา : http://talk.mthai.com/topic/426185 )
( ที่มา : http://talk.mthai.com/topic/426185 )
( ที่มา : http://talk.mthai.com/topic/426185 )
( ที่มา : http://talk.mthai.com/topic/426185 )
( ที่มา : http://talk.mthai.com/topic/426185 )

( จาก ThaiPBS ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=OrIZe43aVuQ )
___________________________________________________________________________________

กิจกรรมที่ 3 : ขั้นตอนการทำโครงงาน

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
นายจิรวัฒน์   มีบุญ  ชั้น ม.6/8  เลขที่ 14
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
          1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
          2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
          3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน
          4. การลงมือทำโครงงาน
          5. การเขียนรายงาน
          6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน

1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
          โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กัน ดังนี้
          1. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ
          2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
          3. การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ
          4. กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
          5. งานอดิเรกของนักเรียน
          6. การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
ที่มา : http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/unit1/step_of_project_com.html
          1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
          2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
          3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
          4. มีเวลาเพียงพอ
          5. มีงบประมาณเพียงพอ
          6. มีความปลอดภัย

2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
          การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า

          1. จะทำ อะไร
          2. ทำไมต้องทำ
          3. ต้องการให้เกิดอะไร
          4. ทำอย่างไร
          5. ใช้ทรัพยากรอะไร
          6. ทำกับใคร
          7. เสนอผลอย่างไร

3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน
ที่มา : http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content2.html
4. การลงมือทำโครงงาน
          เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้

     4.1 การเตรียมการ
          การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ

     4.2 การลงมือพัฒนา
          1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
          2. จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่่อยทำ ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
          3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน
     4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข
          การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย
     4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ
          เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำ ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย
     4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
          เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้

5. การเขียนรายงาน
          การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้
     5.1 ส่วนนำ
          ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงานสำเร็จ
          5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ
     5.2 บทนำ
          บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
          1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า
          3. ขอบเขตของโครงงาน
     5.3 หลักการและทฤษฎี
          หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
     5.4 วิธีดำเนินการ
          วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน
     5.5 ผลการศึกษา
          ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก
     5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
          สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำ งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำ ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย
     5.7 ประโยชน์
          ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย
     5.8 บรรณานุกรม
          บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำ โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำ โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย
     5.9 การจัดทำคู่มือการใช้งาน
          หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำ เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อผลงาน
          2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
          3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
          4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำ หน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก
          5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชันหนึ่งๆ  
ที่มา : http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/unit1/step_of_project_com.html

6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
          การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          5. วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
          6. การสาธิตผลงาน
          7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน


ที่มา : http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/unit1/step_of_project_com.html


___________________________________________________________________________________
ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลและรูปภาพจาก
- http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content2.html
http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/unit1/step_of_project_com.html

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 2 : ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
นายจิรวัฒน์   มีบุญ  ชั้น ม.6/8  เลขที่ 14

  • ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ

     1.  โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
     2.  โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
     3.  โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
     4.  โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
     5.  โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)

( ที่มา : http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html )


1.  โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
     โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ที่มา : http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/picture/chapter1/project_type_sur.jpg

2.  โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
       
     เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทพัฒนาเครื่องมือ
ที่มา : http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/picture/chapter1/project_kruengmue.jpg

3.  โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)

     เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทจำลองทฤษฎี
ที่มา : http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/picture/chapter1/project_thoery.jpg

4.  โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทการประยุกต์ใช้งาน
ที่มา : http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/picture/chapter1/project_improve.jpg

5.  โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
     
     เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทพัฒนาเกม
ที่มา : http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/picture/chapter1/project_game.jpg
  • ตัวอย่างรายชื่อโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทต่าง ๆ

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
-  โปรแกรมความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต 
-  โปรแกรมสำนวนไทยพาสนุก
-  โปรแกรมสนุกไปกับตารางธาตุ

โครงงานพัฒนาเครื่องมือ
- โปรแกรมการค้นหาคำภาษาไทย
- โปรแกรมบีบอัดข้อมูล
-  เครื่องช่วยคนพิการแขนอ่านหนังสือ

โครงงานจำลองทฤษฎี
-  การทดลองปัจจัยต่างๆ ในการเลี้ยงปลานิลด้วยคอมพิวเตอร์
-  การทดลองปัจจัยต่างๆ ในการเพาะปลูกแก้วมังกรด้วยคอมพิวเตอร์
-  การทำนายอุณหภูมิจากข้อมูลที่ผ่านมา

โครงงานประยุกต์ใช้งาน
-  เครื่องป้องกันการขโมยรถจากโทรศัพท์มือถือ
-  ระบบจองตั๋วรถไฟบนอินเทอร์เน็ต
-  เครื่องรดน้ำต้นไม้และให้อาหารปลาผ่านโทรศัพท์มือถือ

โครงงานประยุกต์ใช้งาน
-  เกมผจญภัยกับพระอภัยมณี
-  เกมหมากฮอส
-  เกมศึกรามเกียรติ์

ค้นหาโครงงานอื่น ๆ ได้ที่ http://www.vcharkarn.com/project/cat/1

___________________________________________________________________________________
ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลและรูปภาพจาก
http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/unit1/basic_knowledge_of_baseproject.html
http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/unit1/type_of_project_computer.html
http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html

กิจกรรมที่ 1 : ความหมาย ความสำคัญและขอบข่ายของโครงงานคอมพิวเตอร์

ความหมาย ความสำคัญและขอบข่ายของโครงงานคอมพิวเตอร์
นายจิรวัฒน์   มีบุญ  ชั้น ม.6/8  เลขที่ 14
  • ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์
( ที่มา : https://thepeculiarja.files.wordpress.com/2012/07/ds95634_2_1.png )

กกกกกกกกโครงงานคอมพิวเตอร์  คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียนโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อ โครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้าน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์

กกกกกกกกโครงงานคอมพิวเตอร์ คือ กิจกรรมอิสระที่นักเรียนสามารถเลือกศึกษาตามความสนใจ โดยใช้ทักษะตลอดจนประสบการณ์ของนักเรียนด้านคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ นักเรียนจะต้องวางแผนดำเนินงานศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่จัดว่าเป็นโครงงานควรมีองค์ประกอบหลักดังนี้
1.  เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
2.  นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษา ค้นคว้า พัฒนา
3.  เก็บรวบรวม หรือประดิษฐ์คิดค้นด้วยตนเองตามความสนใจ และระดับความรู้ ความสามารถ
4.  นักเรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา สรุป และเสนอผลการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีครูผู้สอนเป็นที่ปรึกษา

กกกกกกกกโครงงานคอมพิวเตอร์ เป็นงานวิจัยในระดับนักเรียน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในการศึกษา ทดลอง แก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำผลที่ได้มาประยุกต์ใช้งานจริง หรือใช้เพื่อช่วยสร้างสื่อเพื่อเสริมการเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โครงงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ และฝึกฝนการใช้ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา รวมทั้งการพัฒนาการสร้างผลงานจริงอีกด้วย
กกกกกกกกการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์นั้น นักเรียนควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เหตุผลที่ใช้ในการแก้ปัญหา กระบวนการแก้ปัญหา หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น และการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะเริ่มโครงงาน และใช้ความรู้ดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ในโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยในการทำโครงงานนักเรียนอาจมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับความรู้ใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ฐานข้อมูล (Database) และการสืบค้นข้อมูล (Information Retrieval) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหัวข้อที่นักเรียนเลือกทำโครงงาน

  • คุณค่าและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
( ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEiwFUooL-Em_py4sXja9EfHTV0SzexvdoedGUe9BGSgeaZTsX7Yw-5HXgwSW04VHx2b-4grsfVoaHb5WsOZlrZGyNa6TXIhk6hkItEsEPbFpOmqorXV3gXgihGnVQto-NVaUrzlp8mEUQwn7GyvcESZ1NY=
gif&container=blogger&gadget=a&rewriteMime=image%2F*
 )

กกกกกกกกการทำโครงงานคอมพิวเตอร์และการจัดงานแสดงโครงงานจะมีคุณค่าต่อการฝึกฝนให้นักเรียนมีความรู้ ความชำนาญ และมีความมั่นใจในการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเองและยังมีคุณค่าอื่น ๆ อีกดังต่อไปนี้
1.  สร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาและพัฒนาระบบด้วยตนเอง
2.  เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
3.  เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียนในห้องเรียนปกติ
4.  ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน
5.  กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาสาขาคอมพิวเตอร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางด้านนี้
6.  ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
7.  สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน ครู และชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุนชนสนใจคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
8.  เป็นการบูรณาการความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่ได้รับ มาจัดทำและผสมผสานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นโครงงานเพื่อนำเสนอต่อชุมชน

  • ขอบข่ายของโครงงานคอมพิวเตอร์
กกกกกกกกดำเนินงานโดยนักเรียน เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ และครูอาจารย์ เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1.  เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติดัวยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว
2.  นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่
3.  นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด สนใจ และความพร้อม
4.  นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้
5.  เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย

( ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEhvrD1hTjkIo9IqyEH03pq-i1s5QCqsXHOGIzbV6fNPQsmqWQuOmdC7i36azt7zH2_iN8_X5_i7xL42BOcmHGGru5qP_oiln36YhZ4k5w6wpYukqV2diQzgxGfiwS1eHP2gLyqzlVLare1RzkUTGVk99Q=
gif&container=blogger&gadget=a&rewriteMime=image%2F*
)


(โดย ungpao hunna ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=DjONgZ3BxXs )
___________________________________________________________________________________

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 6 : ข้อสอบ 7 วิชาหลัก


ทำไม สทศ.จึงจัดสอบ 7 วิชาสามัญ
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ  (องค์การมหาชน) ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยให้จัดการทดสอบวิชาสามัญเพื่อให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ นำคะแนนไปใช้ประกอบการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮ้าส์ (Clearing House)

"รับตรงร่วมกัน" เกิดมาทำไม 
          แต่เดิมการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีอย่างเดียวคือ การแอดมิชชั่น แต่เหมือนแต่ละมหาวิทยาลัยจะไม่ค่อยพอใจกับการวางสัดส่วนคะแนนซักเท่าไหร่ รวมถึงอยากกระจายโอกาสหาเด็กที่อยากเรียนมหาวิทยาลัยนั้นจริง ๆ ประกอบกับข้อสอบที่ใช้วัดในรอบแอดมิชชั่นอย่าง O-NET ก็เป็นข่าวหวือหวาขึ้นหน้า 1 หนังสือพิมพ์อยู่บ่อยๆ หลายมหาวิทยาลัยเลยตัดสินใจ เปิดรับตรง รับสมัครและคัดเลือกเด็กมาเรียนเอง เพื่อให้บรรลุ 3 ข้อข้างต้นที่กล่าวมาแล้วกัน
          เมื่อหลาย ๆ มหาวิทยาลัยคิดและทำแบบนี้ ปรากฏว่าต่างมหาวิทยาลัยก็ต่างรับสมัครกันเอง คิดรูปแบบการรับสมัครมาตามแต่จะชอบ มีตั้งแต่ยื่นคะแนนอย่างเดียว ไปจนถึงจัดสอบเอง 100% คราวนี้ภาระจึงไปตกกับนักเรียนที่ต้องสอบ เพราะเป็นธรรมดา คงไม่มีนักเรียนคนไหนสมัครแค่สนามเดียว ลองนึกภาพ หากสมัครซัก 3 มหาวิทยาลัยก็ต้องวิ่งตามระบบการสอบถึง 3 ระบบ 
           ด้วยเหตุนี้ "รับตรงร่วมกัน" จึงเกิดขึ้น โดยทางอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มาจับมือกัน พร้อมตั้งสัตยบรรณไว้ว่า "ต่อไปทุกมหาวิทยาลัยจะรับตรงให้ใกล้เคียงกัน โดยสัญญาจะใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน สอบพร้อมกัน จากนั้นแต่ละมหาวิทยาลัยจะเรียกใช้วิชาอะไร เปอร์เซนต์เท่าไหร่ ก็ว่ากันอีกที โดยข้อสอบที่ว่านี้ก็คือ "7 วิชาสามัญ" ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบ และลดภาระค่าใช้จ่ายของเรานั่นเอง

คุณสมบัติของผู้สมัครของผู้สมัคร 7 วิชาสามัญ เป็นอย่างไร
คุณสมบัติของผู้สมัครของผู้สมัคร 7 วิชาสามัญ  เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 หรือ เทียบเท่า หรือ สูงกว่า ม.6 ขึ้นไป

7 วิชาสามัญ มีกี่วิชา อะไรบ้าง
การสอบ 7 วิชาสามัญ มีทั้หมด 7 วิชา ดังนี้ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา

7 วิชาสามัญ เปลี่ยนเป็น 9 วิชาสามัญ มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในการประชุมสามัญ ครั้งที่ 2/2558 (26 เมษายน) ได้อนุมัติปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2559 และเห็นชอบกำหนดการจัดการทดสอบ GAT/PAT  ประจำปีการศึีกษา 2559 โดยปรับเพิ่มรายวิชาที่จัดการทดสอบจาก 7 วิชา เป็น 9 วิชา และขอความร่วมมือให้ สทศ. ดำเนินการตามกำหนดการ ดังนี้

กิจกรรมกำหนดการ
รับสมัครสอบ1-20 ต.ค. 58
จัดการทดสอบ26-27 ธ.ค. 58
ประกาศผลสอบ9 ก.พ. 59


แล้วทำไมถึงกลายเป็น 9 วิชาสามัญ 
           เพราะ 7 วิชาสามัญ ยังมีช่องโหว่อยู่ ดูจากรายวิชาส่วนใหญ่จะเน้นไปที่เด็กสายวิทย์ ทำให้เด็กสายศิลป์ที่มาสอบจึงตายอย่างเขียด ดังนั้นในปี 2559 ระบบรับตรงร่วมกันจึงอัพเกรดข้อสอบใหม่จากเดิม 7 วิชาสามัญ เป็น 9 วิชาสามัญนั้นเอง โดย 2 วิชาที่เพิ่มเข้าไปก็คือ คณิตศาสตร์ 2 และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มาเพื่อรองรับน้องๆ เด็กสายศิลป์โดยเฉพาะ สรุป 9 วิชาสามัญ ประกอบไปด้วย 1.ภาษาไทย 2.สังคมศึกษา 3.ภาษาอังกฤษ 4.คณิตศาสตร์ 1 (สำหรับ นร.สายวิทย์) 5.คณิตศาสตร์ 2 (สำหรับนร.สายศิลป์) 6.ฟิสิกส์ 7.เคมี 8.ชีววิทยา 9.วิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สำหรับนร.สายศิลป์)

9 วิชาสามัญ เยอะไปเปล่า ต้องสอบทุกวิชาไหม 
           ไม่เยอะ ไม่จำเป็น คณะที่เราจะเข้ากำหนดให้สอบวิชาอะไร เราก็ลงตัวนั้นครับ แต่หากใครยังไรู้จักตัวเอง ยังไม่รู้ว่าตัวเองจะเรียนคณะอะไร อาจจะเข้าข่ายต้องสอบทุกวิชา เพราะสมัครมั่วไปหมด พอมาเช็คอยู่แล้ว อ้าววว ต้องใช้ 9 วิชาครบเลย 

มหาวิทยาลัยไหนใช้บ้าง
            ตอบไม่ได้แน่ชัด เพราะบางมหาวิทยาลัยหากพอใจ GAT PAT ก็อาจไม่ต้องเรียกใช้คะแนน 7 วิชาสามัญ เอาเป็นว่ามหาวิทยาลัยที่ร่วมประชุมมี 27 แห่ง ดังนี้

            - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
            - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
            - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
            - มหาวิทยาลัยทักษิณ
            - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
            - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
            - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
            - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
            - มหาวิทยาลัยนครพนม
            - มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
            - มหาวิทยาลัยนเรศวร
            - มหาวิทยาลัยบูรพา
            - มหาวิทยาลัยพะเยา
            - มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
            - มหาวิทยาลัยมหิดล
            - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
            - มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
            - มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
            - มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
            - มหาวิทยาลัยศิลปากร
            - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
            - มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
            - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
            - มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
            - มหาวิทยาลัยรามคำแหง
            - สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สมัครยังไง สมัครได้ที่ไหน
สมัครด้วยตัวเอง ได้จากเว็บ www.niets.or.th

คะแนนเต็มเท่าไหร่ 
วิชาละ 100 คะแนน

สอบมาแล้ว คะแนนเก็บได้กี่ปี 
ใช้ได้ปีต่อปี ปีหน้าจะสอบใหม่ก็ต้องสมัครใหม่

เอาคะแนนไปทำอะไรได้บ้าง 
เป็นข้อสอบกลาง ใช้ในการคัดเลือกระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ (บางมหาวิทยาลัยไม่ใช้คะแนนส่วนนี้ เพราะจัดสอบเอง)

จะสมัครสอบ ต้องจ่ายเท่าไหร่ 
วิชาละ 100 บาท

เลือกสนามสอบเองได้ปะ
เลือกเองได้ ตามศูนย์สอบที่ประกาศเอาไว้ตามรายละเอียดการสอบ

ตัวอย่างข้อสอบ (โหลด)



ตัวอย่าง วิดีโอแนะแนว-เรียนฟรีออนไลน์ ติว 9 วิชาสามัญ




________________________________________________________________________
ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล รูปภาพและวิดีโอจาก