ทำไม สทศ.จึงจัดสอบ 7 วิชาสามัญ
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยให้จัดการทดสอบวิชาสามัญเพื่อให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ นำคะแนนไปใช้ประกอบการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮ้าส์ (Clearing House)
"รับตรงร่วมกัน" เกิดมาทำไม
แต่เดิมการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีอย่างเดียวคือ การแอดมิชชั่น แต่เหมือนแต่ละมหาวิทยาลัยจะไม่ค่อยพอใจกับการวางสัดส่วนคะแนนซักเท่าไหร่ รวมถึงอยากกระจายโอกาสหาเด็กที่อยากเรียนมหาวิทยาลัยนั้นจริง ๆ ประกอบกับข้อสอบที่ใช้วัดในรอบแอดมิชชั่นอย่าง O-NET ก็เป็นข่าวหวือหวาขึ้นหน้า 1 หนังสือพิมพ์อยู่บ่อยๆ หลายมหาวิทยาลัยเลยตัดสินใจ เปิดรับตรง รับสมัครและคัดเลือกเด็กมาเรียนเอง เพื่อให้บรรลุ 3 ข้อข้างต้นที่กล่าวมาแล้วกัน
เมื่อหลาย ๆ มหาวิทยาลัยคิดและทำแบบนี้ ปรากฏว่าต่างมหาวิทยาลัยก็ต่างรับสมัครกันเอง คิดรูปแบบการรับสมัครมาตามแต่จะชอบ มีตั้งแต่ยื่นคะแนนอย่างเดียว ไปจนถึงจัดสอบเอง 100% คราวนี้ภาระจึงไปตกกับนักเรียนที่ต้องสอบ เพราะเป็นธรรมดา คงไม่มีนักเรียนคนไหนสมัครแค่สนามเดียว ลองนึกภาพ หากสมัครซัก 3 มหาวิทยาลัยก็ต้องวิ่งตามระบบการสอบถึง 3 ระบบ
ด้วยเหตุนี้ "รับตรงร่วมกัน" จึงเกิดขึ้น โดยทางอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มาจับมือกัน พร้อมตั้งสัตยบรรณไว้ว่า "ต่อไปทุกมหาวิทยาลัยจะรับตรงให้ใกล้เคียงกัน โดยสัญญาจะใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน สอบพร้อมกัน จากนั้นแต่ละมหาวิทยาลัยจะเรียกใช้วิชาอะไร เปอร์เซนต์เท่าไหร่ ก็ว่ากันอีกที โดยข้อสอบที่ว่านี้ก็คือ "7 วิชาสามัญ" ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบ และลดภาระค่าใช้จ่ายของเรานั่นเอง
คุณสมบัติของผู้สมัครของผู้สมัคร 7 วิชาสามัญ เป็นอย่างไร
คุณสมบัติของผู้สมัครของผู้สมัคร 7 วิชาสามัญ เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 หรือ เทียบเท่า หรือ สูงกว่า ม.6 ขึ้นไป
7 วิชาสามัญ มีกี่วิชา อะไรบ้าง
การสอบ 7 วิชาสามัญ มีทั้หมด 7 วิชา ดังนี้ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในการประชุมสามัญ ครั้งที่ 2/2558 (26 เมษายน) ได้อนุมัติปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2559 และเห็นชอบกำหนดการจัดการทดสอบ GAT/PAT ประจำปีการศึีกษา 2559 โดยปรับเพิ่มรายวิชาที่จัดการทดสอบจาก 7 วิชา เป็น 9 วิชา และขอความร่วมมือให้ สทศ. ดำเนินการตามกำหนดการ ดังนี้
กิจกรรม | กำหนดการ |
รับสมัครสอบ | 1-20 ต.ค. 58 |
จัดการทดสอบ | 26-27 ธ.ค. 58 |
ประกาศผลสอบ | 9 ก.พ. 59 |
แล้วทำไมถึงกลายเป็น 9 วิชาสามัญ
เพราะ 7 วิชาสามัญ ยังมีช่องโหว่อยู่ ดูจากรายวิชาส่วนใหญ่จะเน้นไปที่เด็กสายวิทย์ ทำให้เด็กสายศิลป์ที่มาสอบจึงตายอย่างเขียด ดังนั้นในปี 2559 ระบบรับตรงร่วมกันจึงอัพเกรดข้อสอบใหม่จากเดิม 7 วิชาสามัญ เป็น 9 วิชาสามัญนั้นเอง โดย 2 วิชาที่เพิ่มเข้าไปก็คือ คณิตศาสตร์ 2 และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มาเพื่อรองรับน้องๆ เด็กสายศิลป์โดยเฉพาะ สรุป 9 วิชาสามัญ ประกอบไปด้วย 1.ภาษาไทย 2.สังคมศึกษา 3.ภาษาอังกฤษ 4.คณิตศาสตร์ 1 (สำหรับ นร.สายวิทย์) 5.คณิตศาสตร์ 2 (สำหรับนร.สายศิลป์) 6.ฟิสิกส์ 7.เคมี 8.ชีววิทยา 9.วิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สำหรับนร.สายศิลป์)
9 วิชาสามัญ เยอะไปเปล่า ต้องสอบทุกวิชาไหม
ไม่เยอะ ไม่จำเป็น คณะที่เราจะเข้ากำหนดให้สอบวิชาอะไร เราก็ลงตัวนั้นครับ แต่หากใครยังไรู้จักตัวเอง ยังไม่รู้ว่าตัวเองจะเรียนคณะอะไร อาจจะเข้าข่ายต้องสอบทุกวิชา เพราะสมัครมั่วไปหมด พอมาเช็คอยู่แล้ว อ้าววว ต้องใช้ 9 วิชาครบเลย
มหาวิทยาลัยไหนใช้บ้าง
ตอบไม่ได้แน่ชัด เพราะบางมหาวิทยาลัยหากพอใจ GAT PAT ก็อาจไม่ต้องเรียกใช้คะแนน 7 วิชาสามัญ เอาเป็นว่ามหาวิทยาลัยที่ร่วมประชุมมี 27 แห่ง ดังนี้
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยทักษิณ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยนครพนม
- มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- มหาวิทยาลัยพะเยา
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยศิลปากร
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สมัครยังไง สมัครได้ที่ไหน
สมัครด้วยตัวเอง ได้จากเว็บ www.niets.or.th
สมัครด้วยตัวเอง ได้จากเว็บ www.niets.or.th
คะแนนเต็มเท่าไหร่
วิชาละ 100 คะแนน
สอบมาแล้ว คะแนนเก็บได้กี่ปี
ใช้ได้ปีต่อปี ปีหน้าจะสอบใหม่ก็ต้องสมัครใหม่
เอาคะแนนไปทำอะไรได้บ้าง
เป็นข้อสอบกลาง ใช้ในการคัดเลือกระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ (บางมหาวิทยาลัยไม่ใช้คะแนนส่วนนี้ เพราะจัดสอบเอง)
จะสมัครสอบ ต้องจ่ายเท่าไหร่
วิชาละ 100 บาท
เลือกสนามสอบเองได้ปะ
เลือกเองได้ ตามศูนย์สอบที่ประกาศเอาไว้ตามรายละเอียดการสอบ
ตัวอย่างข้อสอบ (โหลด)
ปี 2557
- วิชาภาษาไทย
- วิชาสังคม
- วิชาภาษาอังกฤษ
- วิชาภาษาไทย
- วิชาสังคม
- วิชาภาษาอังกฤษ
ตัวอย่าง วิดีโอแนะแนว-เรียนฟรีออนไลน์ ติว 9 วิชาสามัญ
(ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=UU_X5VU6ET4 )
( ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=rM0mH-osoF4 )
( ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=anXXsEzxsgA )
( ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=JMfSAdarx9E )
________________________________________________________________________ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล รูปภาพและวิดีโอจาก
- http://www.dek-d.com/admission/34702/
- http://www.dek-d.com/admission/26262/
- http://krupom.sbp.ac.th/?p=561
- http://www.niets.or.th/index.php/faq/view/14
- http://www.niets.or.th/index.php/exam_information/view_se/8
- http://www.niets.or.th/index.php/exam_information/view_se1/30/8
- https://www.youtube.com/watch?v=UU_X5VU6ET4
- https://www.youtube.com/watch?v=rM0mH-osoF4
- https://www.youtube.com/watch?v=anXXsEzxsgA
- https://www.youtube.com/watch?v=JMfSAdarx9E
- http://forum.02dual.com/index.php?topic=8141.0
- http://www.unigang.com/Article/14628
- http://www.dek-d.com/admission/26262/
- http://krupom.sbp.ac.th/?p=561
- http://www.niets.or.th/index.php/faq/view/14
- http://www.niets.or.th/index.php/exam_information/view_se/8
- http://www.niets.or.th/index.php/exam_information/view_se1/30/8
- https://www.youtube.com/watch?v=UU_X5VU6ET4
- https://www.youtube.com/watch?v=rM0mH-osoF4
- https://www.youtube.com/watch?v=anXXsEzxsgA
- https://www.youtube.com/watch?v=JMfSAdarx9E
- http://forum.02dual.com/index.php?topic=8141.0
- http://www.unigang.com/Article/14628
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น